Categories
ข่าว

หมดโปรหนาว!! เตรียมรับมือ “ฤดูร้อน” เริ่มสิ้นเดือน ก.พ. ปีนี้อุณหภูมิทะลุ 44 °C

วันที่ 13 ก.พ.67 ประเทศตอนบน ตอนเช้ามีหมอกบาง อากาศยังเย็นต่อเนื่องโดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคอีสาน กลางวันร้อน แดดแรง ท้องฟ้าโปร่ง ไม่มีฝน อากาศแห้งอัคคีภัยเกิดขึ้นได้ง่าย ต้องระวังรักษาสุขภาพช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ส่วนภาคใต้ยังมีฝน/ฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางแห่ง คลื่นลมยังแรง พี่น้องชาวเรือ ชาวประมงและนักท่องเที่ยว ต้องระวังไปถึงวันที่ 16 ก.พ.67 ทั้งนี้ เนื่องจากมวลอากาศเย็นยังแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลมหนาวแรงขึ้น ช่วงวันที่ 14-22 ก.พ.67 มวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาปกคลุมจะเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลมเบาลง แดดแรง อากาศร้อนขึ้น ลมเริ่มเปลี่ยนทิศทาง โดยจะมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้จากอ่าวไทยพัดปกคลุม มีฝนเล็กน้อยบริเวณภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออก สัญญาณฤดูร้อนกำลังจะมา ส่วนภาคใต้ ลมตะวันออก ลมตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพัดปกคลุม ฝนยังมีได้เล็กน้อยภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ยังต้องระวังคลื่นลมแรงต่อเนื่องถึง16 ก.พ.67 ทั้งนี้ ประเทศไทยเตรียมรับมือฤดูร้อนให้ดี กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายฤดูร้อน 2567 เริ่มสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ปีที่แล้วร้อนแค่ไหน ปีนี้ร้อนยิ่งกว่า ส่วนปริมาณฝนรวมเฉลี่ยจะต่ำกว่าค่าปกติ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก และอุดรธานี […]

Categories
ข่าว

เตรียมรับมือ! กรมอุตุฯ เตือน อีสาน-เหนือ ระวัง! พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง (12 – 13 มี.ค.)

ในช่วงวันที่ 8 – 11 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกบางในตอนเช้ากับอากาศร้อนในตอนกลางวัน แต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 12 – 13 มี.ค. 66 บริเวณกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้น สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 12 – 13 มี.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง

Categories
ข่าว

บอกลาฤดูหนาว!! ไทยเข้าสู่ฤดูร้อน 5 มี.ค. สิ้นกลาง พ.ค. อุณหภูมิสูงสุด 43 องศา

วันที่ 3 มี.ค.66 กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ การเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ. 2566 ระบุว่า ประเทศไทยจะสิ้นสุดฤดูหนาวและเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2566 โดยในตอนกลางวันพื้นที่ส่วนใหญ่บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนโดยทั่วไปอย่างต่อเนื่อง อุณหภูมิสูงสุดตั้งแต่ 35 องศาเซลเซียสขึ้นไป ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนได้เปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้หรือลมฝ่ายใต้พัดปกคลุมแทน ซึ่งเป็นการเข้าสู่ฤดูร้อนของ ประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนบริเวณยอดภูและยอดดอยรวมทั้งเทือกเขายังคงมีอากาศหนาวเย็นต่อไปอีกระยะหนึ่ง และคาดว่าฤดูร้อน จะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2566

Categories
ข่าว

เตรียมตัว! กรมอุตุฯ เตือน ปลายเดือน ก.พ.ไทยเข้าสู่ “ฤดูร้อน” ยาวถึงกลาง พ.ค. อุณหภูมิสูงสุด 43 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก พยากรณ์อากาศ โดยคาดการณ์ว่าฤดูร้อนของประเทศไทยปี 2566 ในส่วนของประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงสุด 40-43 องศา อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย 35.5 องศา อย่างไรก็ตามอุณหภูมิดังกล่าวจะสูงกว่าปี 2565 ที่มีอุณหภูมิสูงสุด 34 องศา อย่างไรก็ตามยังถือว่าใกล้เคียงค่าปกติ 35.4 องศา ฤดูร้อนจะเริ่มประมาณปลายกุมภาพันธ์ 2566 และสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2566 ทั้งนี้ขอให้ระวังพายุฤดูร้อน โดยช่วงปลายกุมภาพันธ์ – กลางมีนาคม อากาศร้อนหลายพื้นที่ในตอนกลางวัน ภาคเหนือและอีสานยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า กลางมีนาคม – กลางเมษายน อากาศร้อนอบอ้าวเป็นระยะๆ อากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในบางช่วง เกิดพายุฤดูร้อนในหลายพื้นที่ กลางเมษายน – กลางพฤษภาคม อากาศแปรปรวน มีอากาศร้อนจัดบางแห่งในบางช่วง มีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ ขณะที่ภาคใต้ จะมีฝนเพิ่มขึ้น ตกต่อเนื่อง และตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ทะเลอันดามันคลื่นสูง 2-3 เมตร และอาจมีการก่อตัวของพายุไซโคลน โดยจะเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนเป็นต้นไป