Categories
ข่าว

ตระการตา!! แสดง แสง สีเสียง “ครูน้ำมวก” ประวัติศาสตร์ชาติไทย ความเป็นมาเมืองมหาสารคาม

เมื่อวันที่ 27 ม.ค.67 เวลา 18:00 น.ที่บริเวณลานหน้าเจดีย์ วัดป่าวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานกิจกรรม สื่อ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครูน้ำมวก การแสดง แสง สีเสียง สื่อผสม จากทีมขุนศึก62 ของกองทัพบก โดยมี พระพรรมวชิระ โสภณ ประธานกิตติมศักดิ์ โครงการศาสตร์พระราชา พลเอกพิเชษฐ์ อาศัยจร อดีตผู้บัญชาการทหารบก พันเอก กิติศักดิ์ ดวงกลาง รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 26 ดร.อรพันธุ์ วงศ์กาไสย ดร.มุกมณี ฤกษ์งาม และคณะ นายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม พร้อมด้วยสมาชิกสภา ปลัดเทศบาล คณะครู นักเรียนนักกีฬาจากเทศบาล ร่วมแสดง

โดยคณะกรรมการการขับเคลื่อนกิจกรรมในการอนุรักษ์ ดิน น้ำ ป่า และสิ่งแวดล้อม เพื่อสืบสานโครงการศาสตร์พระราชา ของพระบรมชนากรธิเบตมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มี พลเอกพิเชษฐ์ อาศัยจร อดีตผู้บัญชาการทหารบก ดร.อรพันธุ์ วงศ์กาไสย ดร.มุกมณี ฤกษ์งาม และคณะ โดยใช้ชื่อโครงการว่า “ครูน้ำมวก” ซึ่งเป็นผู้เขียน บทเรียนมีชีวิตตามศาสตร์พระราชา ซึ่งได้นำเสนอต่อ เข้าสู่ระบบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาทรัพยากรมนุษย์ เช่น แก้ไข ปัญหาเด็กแว้นที่ไม่ชอบวิชาการ เน้นให้ปฏิบัติ สามารถสร้างแรงบันดาลใจ ให้กลุ่มนักเรียนในกลุ่มนี้ได้เน้นความสำคัญของตัวเอง และได้ร่วมกับครูน้ำมวก และให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รู้ถึงความเป็นมาของเมืองมหาสารคาม และประวัติศาสตร์ชาติไทย ในการเสียสละของเหล่าบรรพชน บรรพบุรุษ รวมถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ในอดีต ผ่านการแสดง แสง สี เสียง ในหัวข้อ “สร้างคน ดี ด้วยประวัติศาสตร์ สร้างชาติ ด้วยอุดมการณ์”

ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ในการจัดกิจกรรม สื่อ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครูน้ำมวก ที่จะนำเสนอต่อกระทรวงวัฒนธรรม และการแสดง แสง สีเสียง สื่อผสม จากทีมขุนศึก 62 ของกองทัพบก จังหวัดมหาสารคาม คิดว่าจะเป็นประโยชน์ ที่จะทำให้คนในประเทศได้รู้จักจังหวัดมหาสารคาม ในเรื่องเกษตรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรมนุษย์ ถือว่าเป็นที่ทางกลุ่มนี้ทำงานมาเป็นนานเข้าถึง 47 ปี เป็นการทำงานซ้ำแล้ว ซ้ำอีก เพื่อให้เห็นผลสัมฤทธิ์ ในประเทศและต่างประเทศ น่าจะเป็นประโยชน์ในเชิงประจักษ์ ในการพัฒนาประเทศ และจังหวัดมหาสารคาม

ทั้งนี้ มหาสารคาม ได้รับการแต่งตั้งเป็นเมือง เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2408 แต่ก่อนจะตั้งเป็นเมืองมหาสารคามนั้น บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์มานาน บางยุค บางสมัยก็รุ่งเรือง บางยุคสมัยก็เสื่อมโทรม ตามบันทึกของหลวงอภิสิทธิ์สารคาม (บุดดี) ตลอดจนประวัติศาสตร์ภาคอีสาน และเมืองมหาสารคาม ของบุญช่วย อัตถากร ระบุว่า ท้าวมหาชัย (กวด) พาผู้คนออกจากเมืองร้อยเอ็ดมาทางทิศตะวันตก ประมาณ 1,000 เส้น จึงหยุดตั้งอยู่บริเวณที่ดอน แต่ราษฎรนิยมเรียกว่า “วัดข้าวฮ้าว”
อยู่ได้ประมาณ 6 เดือน เห็นว่าขาดแคลนแหล่งน้ำ จึงย้ายมาตั้งระหว่างกุดยางใหญ่กับหนองท่ม ซึ่งเป็นที่ชุมชนที่มีผู้อาศัยอยู่บ้างแล้ว คือ บ้านจาน ประกอบกับห่างออกไปเล็กน้อยก็เป็นห้วยคะคาง จึงนับว่าเป็นชัยภูมิที่มีแหล่งน้ำสมบูรณ์ เมืองมหาสารคามเมื่อแรกตั้งอยู่ในความดูแลบังคับบัญชาของพระขัติยวงษา (จัน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นผู้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอรับพระราชทาน “บ้านลาด กุดยางใหญ่” เป็นเมือง ของท้าวมหาชัย (กวด) เป็นเจ้าเมือง

ราชสำนักได้มีสารตรามาถึงพระขัติยวงษา (จัน) ลงวันอังคาร เดือน 10 ขึ้น 1 ค่ำ ปีฉลู สัปตศก จุลศักราช 1227 ซึ่งตรงกับวันที่ 22 สิงหาคม 2408 ดังข้อความตอนหนึ่งว่าจึงมีพระบรมราชโองการดำรัสว่า ซึ่งเจ้าพระยาภูธราภัย ฯ พร้อมกับเจ้าพระยานครราชสีมาไล่เลียงแลทำแผนที่เมืองจะตั้งใหม่ เห็นการไม่เกี่ยวข้องแก่บ้าน แก่เมืองใดแล้ว จึงโปรดเกล้า ฯ ขนานนามบ้านลาดกุดยางไย เป็นเมืองมหาษาร ตามพระราชทานนามสัญญาบัติ ประทับพระราชลัญจกร ตั้งท้าวมหาไชยเป็นที่พระเจริญราชเดช เจ้าเมือง ทำราชการขึ้นแก่เมืองร้อยเอ็ด ให้พระราชทานท้าวมหาไชย ผู้เป็นที่พระเจริญราชเดชเจ้าเมืองมหาสารคาม